Please use this identifier to cite or link to this item: http://localhost/jspui/handle/123456789/39
Title: THE GUIDELINE FOR DEVELOPING THE ACADEMIC ADMINISTRATION OF  HOLY REDEEMER IN THE UDON THANI DIOCESE
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมหาไถ่ศึกษา ในเครือสังฆมณฑลอุดรธานี
Authors: KRIANGKRAI PHUTTARASU
เกรียงไกร พุทธระสุ
Pim-on Sod-ium
พิมพ์อร สดเอี่ยม
Mahamakut Buddhist University
Pim-on Sod-ium
พิมพ์อร สดเอี่ยม
pimon.sod@mbu.ac.th
pimon.sod@mbu.ac.th
Keywords: แนวทางการบริหารงานวิชาการ
guidelines for the academic administration
Issue Date:  3
Publisher: Mahamakut Buddhist University
Abstract: The objectives of this study are as follows: 1) to examine the current state of the academic administration of Holy Redeemer in the Udon Thani Diocese; 2) to compare the current state of the academic administration of Holy Redeemer in the Udon Thani Diocese based on the opinions of administrators and teachers, categorized by position and work experience; and 3) to explore development guidelines for the academic administration of Holy Redeemer in the Udon Thani Diocese. The study population consisted of 254 individuals, including 42 administrators and 212 teachers from Holy Redeemer in the Udon Thani Diocese. The research instruments included a five-point Likert scale questionnaire and a semi-structured interview, with an overall reliability coefficient of 0.972. Data were analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation, as well as inferential statistics, including t-test and one-way ANOVA (F-test). If significant differences were found, pairwise comparisons were conducted using Scheffe's method.The research findings were as follows:1.      The overall level of the academic administration of Holy Redeemer in the Udon Thani Diocese was high across all aspects. The highest to lowest mean scores were ranked as follows: research for improving educational quality, educational supervision, assessment and accreditation, development and utilization of educational technology, learning process development, curriculum development, and internal quality assurance and educational standards.2.      The comparison of academic administration based on position revealed no significant differences overall. Similarly, when categorized by work experience, no significant differences were found.3.       The development guidelines for the academic administration of Holy Redeemer in the Udon Thani Diocese should focus on aligning school curricula with local contexts and competency-based curricula linked to the economy and labor market. Active learning approaches should be emphasized, promoting STEM, AI, and coding education while integrating digital technology into teaching and learning. Teachers should be trained as learning coaches. Assessment and evaluation should emphasize authentic assessment and AI-driven student achievement analysis. Research development should encourage classroom research and collaboration with universities. Educational supervision should adopt a coaching and mentoring system with digital technology integration. Quality assurance should be driven by data-based management and digital transformation. Finally, the use of educational technology should include the development of smart classrooms, online media repositories, and the integration of AI, AR, and VR to enhance learning effectiveness.
การทำสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาในเครือสังฆมณฑล อุดรธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาในเครือสังฆมณฑล อุดรธานี ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ และประสบการณ์การทำงาน    3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาในเครือสังฆมณฑลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาในเครือสังฆมณฑลอุดรธานี จำนวน 254 คน  ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 42 คน  ครูจำนวน 212  คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .972 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตฐาน การทดสอบค่า (t-test)  และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOWA )ด้วยสถิติเอฟ (F-test) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชพเฟ่ (Scheffe)ผลการวิจัยพบว่า :  1.  ระดับการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาในเครือสังฆมณฑลอุดรธานี ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา  การนิเทศการศึกษา  การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน  การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ตามลำดับ2.  ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาในเครือสังฆมณฑลอุดรธานี จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบจำแนกตามประสบการณ์การทำงานโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3.  แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนมหาไถ่ศึกษาในเครือสังฆมณฑลอุดรธานี ควร มุ่งเน้น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นและใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ส่งเสริม STEM, AI, Coding และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาครูให้เป็นโค้ชการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงและใช้ AI วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน การพัฒนางานวิจัย โดยส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย การนิเทศการศึกษา ควรใช้ระบบ Coaching & Mentoring และเทคโนโลยีดิจิทัลในการนิเทศ ระบบประกันคุณภาพการศึกษา ควรเน้นการใช้ Data-Driven Management และปรับปรุงให้เป็นระบบดิจิทัล สุดท้าย การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ควรมีการพัฒนา Smart Classroom, คลังสื่อออนไลน์ และสนับสนุนการใช้ AI, AR/VR เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
URI: http://localhost/jspui/handle/123456789/39
Appears in Collections:FACULTY OF EDUCATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6620840432011.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.