Please use this identifier to cite or link to this item:
http://localhost/jspui/handle/123456789/37
Title: | GUIDELINES FOR DEVELOPING INNOVATIVE THINKING SKILLS OF TEACHERS LOEI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2 แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 |
Authors: | KWANTIDA PAWAPOOTANON ขวัญธิดา ภวภูตานนท์ Phrakrupalad Jakkapol Siritharo พระครูปลัดจักรพล สิริธโร Mahamakut Buddhist University Phrakrupalad Jakkapol Siritharo พระครูปลัดจักรพล สิริธโร mahajakkapol.pon@mbu.ac.th mahajakkapol.pon@mbu.ac.th |
Keywords: | ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ผู้บริหาร ครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต2 แนวทางการพัฒนา Innovative Thinking Skills Administrators Office of Loei Primary Educational Service Area 2 Development guidelines |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Mahamakut Buddhist University |
Abstract: | สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ปีการศึกษา 2567 จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 217 คน และครูผู้สอน จำนวน 1,173 คน จำนวนทั้งหมด 1,390 คนกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 302 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607–610, อ้างถึงในบุญชม ศรีสะอาด, 2556, หน้า 43) โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กำหนดขนาดสถานศึกษาเป็นชั้น จำแนกเป็นผู้บริหาร จำนวน 47 คน และครูผู้สอน จำนวน 255 คนผลการวิจัยพบว่า1. ผลการศึกษาระดับทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 5 ด้านการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างสรรค์ รองลงมาคือ ด้านที่3 ด้านการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ด้านที่ 4 ด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ด้านที่ 2 ด้านการเชื่อมโยงความรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ตามลำดับ และด้านที่ต่ำสุดคือ ด้านที่ 1 ด้านการกล้าคิดกล้าทำด้วยจินตนาการ2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์และขนาดโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน สอดคล้องกับสมมติฐาน ของการวิจัยที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.053. แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ต้องอาศัยแนวทางที่หลากหลายและต่อเนื่อง ตั้งแต่การส่งเสริมความกล้าคิดกล้าทำ การบูรณาการความรู้ การตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ การพัฒนาวิธีการสอน และการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา หากสามารถดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้ได้อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ครูสามารถพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาในอนาคต |
URI: | http://localhost/jspui/handle/123456789/37 |
Appears in Collections: | FACULTY OF EDUCATION |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6620840432006.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.