Please use this identifier to cite or link to this item:
http://localhost/jspui/handle/123456789/48
Title: | VISIONARY LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER LOEI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2 ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ |
Authors: | NICHANUN SANYEA นิชานันท์ แสนเยีย Chissanapong Sonchan ชิษณพงศ์ ศรจันทร์ Mahamakut Buddhist University Chissanapong Sonchan ชิษณพงศ์ ศรจันทร์ chissanapong.so@mbu.ac.th chissanapong.so@mbu.ac.th |
Keywords: | Visionary Leadership School Administrators Leadership Development Educational Management SWOT Analysis |
Issue Date: | 25 |
Publisher: | Mahamakut Buddhist University |
Abstract: | Research on Visionary Leadership of School Administrators under Loei Primary Educational Service Area Office 2 aimed to: 1) study the level of visionary leadership of school administrators, 2) compare teachers' opinions on visionary leadership of school administrators classified by gender, educational background, school size, and work experience, and 3) study guidelines for developing visionary leadership of school administrators. The population used in this research consisted of 1,390 school administrators and teachers from 158 schools under Loei Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2024. The sample group consisted of 302 individuals, determined using Krejcie and Morgan's ready-made table. The research instrument was a questionnaire. Statistics used included percentage, mean, and standard deviation.The research findings revealed that: 1. The overall level of visionary leadership of school administrators was high. When considering each aspect, all aspects were at a high level. The aspect with the highest mean was vision implementation, where administrators promptly solved problems and obstacles in operations according to the vision and appropriately allocated resources to support operations. This was followed by being a good role model, where administrators created morale for colleagues and respected different opinions. In vision creation, administrators analyzed both internal and external environments before establishing the vision and motivated personnel to recognize the importance and commitment to work. The aspect with the lowest mean was vision dissemination, where administrators chose communication channels appropriate for different target groups and listened and responded to personnel's suggestions. 2. The comparison of opinions of administrators and teachers on visionary leadership, classified by gender, educational background, school size, and work experience, showed no differences in all four aspects. 3. Guidelines for developing visionary leadership of school administrators, based on interviews with five experts, revealed that: for vision creation, comprehensive environmental analysis tools should be used, especially SWOT Analysis, linked to national policies; for vision dissemination, participation should be created from all stakeholders, including school personnel, students, parents, and the community; for vision implementation, a balance should be created between challenges and feasibility by setting clear short, medium, and long-term goals; and for being a good role model, there should be in-depth understanding of context, clear communication, flexibility, and the ability to inspire personnel by implementing the vision concretely using empirical data and research-based approaches. การวิจัยเรื่องภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1,390 คน จากโรงเรียน 158 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 302 คน กำหนดขนาดโดยเทียบจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ซึ่งผู้บริหารแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์อย่างทันท่วงที และจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน รองลงมาคือ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี โดยผู้บริหารสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ผู้ร่วมงาน และรับฟังเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง ด้านการสร้างวิสัยทัศน์พบว่าผู้บริหารวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาก่อนการกำหนดวิสัยทัศน์ และสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเห็นความสำคัญและมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ โดยผู้บริหารเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน และรับฟังตอบสนองต่อข้อเสนอแนะของบุคลากร 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันทั้ง 4 ด้าน 3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ควรใช้เครื่องมือวิเคราะห์สภาพแวดล้อมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะ SWOT Analysis และเชื่อมโยงกับนโยบายระดับชาติ ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ควรสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทั้งบุคลากรภายในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ควรสร้างสมดุลระหว่างความท้าทายกับความเป็นไปได้ โดยกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวที่ชัดเจน และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีควรมีความเข้าใจบริบทเชิงลึก มีความชัดเจนในการสื่อสาร มีความยืดหยุ่น และสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคลากร โดยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ให้เป็นรูปธรรมด้วยการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์และการวิจัยเป็นฐาน |
URI: | http://localhost/jspui/handle/123456789/48 |
Appears in Collections: | FACULTY OF EDUCATION |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6620840432035.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.