Please use this identifier to cite or link to this item: http://localhost/jspui/handle/123456789/44
Title: ANALYSIS OF DIGITAL LEADERSHIP COMPONENTS OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE OFFICE OF PRIMARY  EDUCATIONAL SERVICE AREA, LOEI AREA 2
การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Authors: CHAINARONG SINGJUN
ชัยณรงค์ สิงห์จันทร์
Chakgrit Podapol
จักรกฤษณ์ โพดาพล
Mahamakut Buddhist University
Chakgrit Podapol
จักรกฤษณ์ โพดาพล
chakgrit.pod@mbu.ac.th
chakgrit.pod@mbu.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำดิจิทัล
ผู้บริหารสถานศึกษา
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
Digital Leadership
School Administrators
Confirmatory Factor Analysis
Issue Date:  24
Publisher: Mahamakut Buddhist University
Abstract: This research aimed to 1) study the components of digital leadership among school administrators and 2) examine the consistency of the digital leadership component model with empirical data. The sample consisted of 300 school administrators and teachers under the Loei Primary Educational Service Area Office 2 in the 2024 academic year, selected through proportional stratified random sampling using district and position as stratification factors. The research instrument was a 99-item closed-ended questionnaire covering 4 components, utilizing a 5-point rating scale with an IOC index ranging from 0.80-1.00, item discrimination power between 0.543-0.730, and reliability of 0.949. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, kurtosis, and confirmatory factor analysis, considering goodness-of-fit statistics including Chi-Square (χ²), Chi-Square/df, RMSEA, CFI, GFI, AGFI, and SRMR.The research findings revealed:1.       The analysis of digital leadership components showed that the Technology Vision dimension had mean scores ranging from 4.65 to 4.79, skewness values between -0.699 and -1.560, and kurtosis values between -0.1020 and 2.2773, with data distribution approximating a normal curve. The Digital Learning Culture dimension had mean scores between 4.66 and 4.71, skewness values between -0.769 and -0.919, and kurtosis values between -0.060 and -0.371, indicating data distribution close to normal. The Communication dimension had mean scores between 4.70 and 4.76, skewness values between -0.882 and -1.661, and kurtosis values between 0.009 and 4.305, with data showing left skewness and mostly slightly higher kurtosis than normal. The Digital Knowledge and Skills dimension had mean scores between 4.69 and 4.82, skewness values between -0.746 and -2.133, and kurtosis values between -0.580 and 4.775, with most data showing left skewness and a mix of both flatter and more peaked distributions compared to normal. All data indicated very high levels of digital leadership across all components.2.       The model congruence assessment used criteria including relative Chi-Square (χ²/df) not exceeding 3, RMSEA below 0.08, GFI and CFI above 0.90, and AGFI above 0.85. The model showed acceptable congruence with empirical data, with a p-value of 0.0186 (0.01
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 300 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน โดยใช้อำเภอและตำแหน่งเป็นชั้นในการแบ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปลายปิด จำนวน 99 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้ออยู่ระหว่าง 0.543-0.730 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.949 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยพิจารณาค่าสถิติความกลมกลืน ได้แก่ Chi-Square (χ²), Chi-Square/df, RMSEA, CFI, GFI, AGFI และ SRMRผลการวิจัยพบว่า1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลพบว่าด้านวิสัยทัศน์เทคโนโลยี มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.65 – 4.79 ค่าความเบ้อยู่ระหว่าง -0.699 ถึง -1.560 ค่าความโด่งอยู่ระหว่าง -0.1020 ถึง 2.2773 ข้อมูลมีการแจกแจงใกล้เคียงโค้งปกติ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ดิจิทัล มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.66 - 4.71 ค่าความเบ้อยู่ระหว่าง -0.769 ถึง -0.919 และค่าความโด่งอยู่ระหว่าง -0.060 ถึง -0.371 ซึ่งแสดงว่าข้อมูลมีการแจกแจงใกล้เคียงโค้งปกติ ด้านการสื่อสาร มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70 - 4.76 ค่าความเบ้อยู่ระหว่าง -0.882 ถึง -1.661 และค่าความโด่งอยู่ระหว่าง 0.009 ถึง 4.305 ข้อมูลมีการแจกแจงเบ้ซ้ายและส่วนใหญ่มีการแจกแจงสูงโด่งกว่าโค้งปกติเล็กน้อย ด้านความรู้และทักษะดิจิทัล มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.69 - 4.82 ค่าความเบ้อยู่ระหว่าง -0.746 ถึง -2.133 และค่าความโด่งอยู่ระหว่าง -0.580 ถึง 4.775 ข้อมูลส่วนใหญ่มีการแจกแจงเบ้ซ้ายและมีทั้งแบบแบนราบกว่าโค้งปกติและสูงโด่งกว่าโค้งปกติ ข้อมูลทั้งหมดแสดงถึงภาวะผู้นำดิจิทัลในระดับสูงมากทุกองค์ประกอบ 2. การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลใช้เกณฑ์พิจารณาจากค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (χ²/df) ไม่เกิน 3, ค่า RMSEA ต่ำกว่า 0.08, ค่า GFI, CFI เกิน 0.90 และค่า AGFI เกิน 0.85 โมเดลมีความสอดคล้องในระดับที่ยอมรับได้ โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.0186 (0.01
URI: http://localhost/jspui/handle/123456789/44
Appears in Collections:FACULTY OF EDUCATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6620840432013.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.