Please use this identifier to cite or link to this item: http://localhost/jspui/handle/123456789/41
Title: INNOVATIVE LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER  THE LOEI PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE 2
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Authors: PORNWAREEYA KITTITHUM
พรวารีญา กิตติธรรม
Phrakrupalad Jakkapol Siritharo
พระครูปลัดจักรพล สิริธโร
Mahamakut Buddhist University
Phrakrupalad Jakkapol Siritharo
พระครูปลัดจักรพล สิริธโร
mahajakkapol.pon@mbu.ac.th
mahajakkapol.pon@mbu.ac.th
Keywords: ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม
ผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Innovative leadership
school administrators
Loei Primary Education Service Area Office 2
Issue Date:  2
Publisher: Mahamakut Buddhist University
Abstract: This independent study aimed to: (1) examine the level of innovative leadership among administrators under the Office of Loei Primary Educational Service Area 2, (2) compare the innovative leadership of administrators based on their position, work experience, and school size, and (3) explore approaches for enhancing innovative leadership among these administrators. The study population consisted of 1,390 administrators and teachers. Research instruments included a five-point Likert scale questionnaire and a semi-structured interview. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test, with a statistical significance level set at 0.05.The findings revealed that:1.The overall level of innovative leadership among administrators under the Office of Loei Primary Educational Service Area 2 was high across all aspects. The highest-rated aspects were visionary innovation leadership, creative innovation leadership, and innovative teamwork, while the lowest-rated aspect was the organizational innovation climate.2.The comparative analysis of innovative leadership based on position and school size indicated statistically significant differences at the 0.05 level. However, no significant differences were found based on work experience.3.To enhance innovative leadership, administrators should adopt a visionary leadership approach to keep pace with change, promote teamwork and participation to improve efficiency, encourage creative thinking, and utilize technology to drive innovation in management and education. Additionally, fostering a learning-friendly environment will contribute to the sustainable development of schools.
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 1,390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติอ้างอิงการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการวิจัยพบว่า:1. ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสูงสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์นวัตกรรม ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมและด้านการทำงานเป็นทีมเชิงนวัตกรรม และที่ต่ำสุด คือ ด้านบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ประสบการณ์ทำงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.053. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ผู้บริหารควรนำหลักแนวคิดของภาวะผู้นำสถานศึกษาที่มีวิสัยทัศน์จะช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การคิดสร้างสรรค์และการใช้เทคโนโลยีช่วยให้เกิดนวัตกรรมในการบริหารและการเรียนการสอน รวมถึงการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จะทำให้สถานศึกษาพัฒนาได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
URI: http://localhost/jspui/handle/123456789/41
Appears in Collections:FACULTY OF EDUCATION

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6620840432028.pdf3.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.