Please use this identifier to cite or link to this item:
http://localhost/jspui/handle/123456789/32
Title: | DEMOCRATIC GOVERNANCE FROM KALAMA-SUTTA-BASED PERCEPTION OF PEOPLE การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยจากการรับรู้ของประชาชนตามหลักกาลามสูตร |
Authors: | Phra Ittiphong Kwanpak พระอิทธิพงษ์ ญาณวํโส (ขวัญพัก) Artit Saengchawek อาทิตย์ แสงเฉวก Mahamakut Buddhist University Artit Saengchawek อาทิตย์ แสงเฉวก artit.sea@mbu.ac.th artit.sea@mbu.ac.th |
Keywords: | การรับรู้ การปกครองระบอบประชาธิปไตย กาลามสูตร Perception Democracy Kalama-Sutta |
Issue Date: | 12 |
Publisher: | Mahamakut Buddhist University |
Abstract: | The objectives of the research were to study the democracy perception of people in Muang Loei district, Loei province, to compare the people’s democracy perception, classified by gender, age, educational level, occupation and salary, and to study the people’s perception of democracy, based on Kalama-Sutta. The study was conducted through the mixed method research (MMR). Key informants were five academic scholars and Local Administrative Organization (LAO) administrators. The sample group was a total of 398 people with election rights, selected from 97,709 people in Muang Loei district, Loei province. The research tool consisted of the five-level rating scale questionnaire, and the in-depth interview for the qualitative research. The data were analyzed by the statistical program for social sciences, including the content analysis and the descriptive explanation. The research findings were as follows: 1. The democracy perception of people in Muang Loei district, Loei province was totally and separately found to be at a high level (x-bar = 3.87, S.D. = 0.71). Separately considered in the descending order, the aspect with the highest mean score was the rule of law (x-bar = 3.92, S.D. = 0.71), followed by liberty (x-bar = 3.91, S.D. = 0.68), the majority rule (x-bar = 3.90, S.D. = 0.69), equality (x-bar = 3.82, S.D. = 0.77), and sovereignty (x-bar = 3.79, S.D. = 0.74), respectively. 2. The comparison of the people’s democracy perception revealed that the democracy perception of Muang Loei people, classified by their different age, was totally different (F = 3.386, Sig = .010). Separately considered, sovereignty (F = 3.995, Sig = .003), liberty (F = 3.214, Sig = .013), and equality (F = 4.195, Sig = .002) were different. 3. The Kalama-sutta-based perception of democracy demonstrated that the people occupied sovereignty, got an opportunity to participate in politic activities, participated in governing the country directly or indirectly, voluntarily voted for the representatives, denied vote buying, selected good jobs freely, not violated the law, free to criticize the government and representatives, equal and liberal to each other under the law, had human dignity, not discriminated, held fair opportunities, respected and obeyed the law, accepted and followed the majority’s decision, and listened to the minority. The people perceived Kalama-sutta-based democracy through their voting right to confirm their sovereignty ownership, the direct and indirect participation of government, the voluntary election, the opportunity in political participation, and the political criticism and opinion. The people perceived their rights, freedom and liberty on right profession, based on Kalama-sutta, including liberty of thoughts and beliefs, freedom of truthful expression, freedom of assembly, and freedom of political choices. Based on Kalama-sutta, the people were aware of human dignity, equally treated under the national law, and having a chance on self-development and valuable livelihood, including the economic and political equality. The people perceived the rule of law, based on Kalama-sutta, aware of the law’s justice, the law’s protection the people’s rights and liberty, the transparent and fair justice process, and the law’s check and balance system. The people accepted the majority’s resolution or decision-making process, including the majority’s respect to the minority’s rights, the transparent and fair decision-making process, acceptance of the majority's decision-making, and receiving human rights protection. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย เปรียบเทียบการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และศึกษาการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักกาลามสูตร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นักวิชาการ และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง โดยกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่าง คือ มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวน 97,709 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert Scale) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และวิเคราะห์เนื้อหาแบบพรรณนาวิธี ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยรวมและรายด้านอยู่ที่ระดับมาก (x-bar = 3.87, S.D. = 0.71) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ หลักนิติธรรม(x-bar = 3.92, S.D. = 0.71) รองลงมา ได้แก่ หลักเสรีภาพ (x-bar= 3.91, S.D. = 0.68) หลักเสียงข้างมาก (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 3.90, S.D. = 0.69) หลักความเสมอภาค (x-bar = 3.82, S.D. = 0.77) และหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (x-bar= 3.79, S.D. = 0.74) ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย พบว่า ประชาชนในเขตอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ที่มีอายุต่างกัน มีการรับรู้การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยภาพรวม แตกต่างกัน (F = 3.386, Sig = .010) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (F = 3.995, Sig = .003) ด้านหลักเสรีภาพ (F = 3.214, Sig = .013) และด้านความเสมอภาค (F = 4.195, Sig = .002) มีความแตกต่างกัน 3. การรับรู้การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักกาลามสูตร คือ ประชาชนรับรู้การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักกาลามสูตร โดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตามระบอบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการปกครองโดยตรงและโดยอ้อม การเลือกตั้งโดยสมัครใจ การได้รับโอกาสให้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง และการวิพากษ์วิจารณ์หรือการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ประชาชนรับรู้ถึงสิทธิ ความมีอิสระหรือเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพสุจริตตามหลักกาลามสูตร เสรีภาพทางความคิดและความเชื่อ เสรีภาพในการแสดงออกตามความเป็นจริง เสรีภาพในการชุมนุมและร่วมกลุ่ม และเสรีภาพในการเลือกทางการเมือง ประชาชนตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามหลักกาลามสูตร การได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย การได้รับการพัฒนาตนเองและดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและทางการเมือง ประชาชนรับรู้ถึงการปกครองโดยกฎหมายตามหลักกาลามสูตร กฎหมายมีความยุติธรรม กฎหมายให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน กระบวนการยุติธรรมมีความโปร่งใสและเป็นธรรม และกฎหมายมีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ และประชาชนยอมรับให้เสียงส่วนใหญ่เป็นผู้กำหนดทิศทางหรือผลลัพธ์ของการตัดสินใจตามหลักกาลามสูตร เสียงส่วนใหญ่ให้การเคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย กระบวนการตัดสินใจที่โปร่งใสและยุติธรรม การยอมรับผลการตัดสินใจของเสียงข้างมาก และการได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน |
URI: | http://localhost/jspui/handle/123456789/32 |
Appears in Collections: | FACULTY OF SOCIAL SCIENCES |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6520831012001.pdf | 12.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.